ประวัติความเป็นมา
การปกครองท้องถิ่นไทย ( Local Government ) ถือเป็นรูปแบบการปกครองที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในสภาพสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้ ด้วยข้อเท็จจริงที่สำคัญประการ หนึ่งที่ว่าพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างหลากหลายกันออกไป อาทิเช่น สภาพทางเศรษฐกิจ สภาพทางสังคม หรือแม้แต่สภาพทางการเมืองเอง ซึ่งเมื่อแต่ละพื้นที่ของประเทศมีความหลากหลายดังกล่าวข้างต้นรัฐบาลกลาง ย่อมไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมสอดคล้อง
ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการจัดการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกตัวแทนของท้องถิ่น เองมาเป็นผู้กำหนดนโยบาย และแนวทางในการบริหารงานนั้น จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของท้อง ถิ่นกับทั้งจัดบริการสาธารณะต่างๆ แก่ประชาชน จากบทบาทหน้าที่ของการปกครองท้องถิ่นที่กล่าวมาข้างต้น จึงเห็นได้ว่าในการที่จะทำให้ท้องถิ่นสามารถให้บริการสาธารณะที่มีความสอด คล้องต่อความต้องการของคนในท้องถิ่นตลอดจนทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของ ท้องถิ่น ท้องถิ่นจำเป็นจะต้องมีอำนาจและความเป็นอิสระ ( Autonomy ) จากรัฐบาลกลางในหลายๆ ทางและนั่นจึงทำให้หลักการที่สำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการปกครองท้องถิ่นก็คือ หลักการกระจายอำนาจ ( Decentralization ) นั่นเอง การ กระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นรากฐานการ ปกครองของประเทศมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนประกาศคณะปฏิวัติฉบับต่างๆ
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งถือได้ว่าเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดจนกระทั่ง พ.ศ. 2537 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537ซึ่ง ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ดังนี้ โดยที่สภาตำบลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำให้การบริหารงานไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน สมควรปรับปรุงฐานะของสภาตำบลและการบริหารงานของสภาตำบลเสียใหม่ ให้สามารถรองรับการกระจายอำนาจไปสู่ประชาชนได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการยกฐานะสภาตำบล
ซึ่งมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ? ทำให้สภาตำบลทุกแห่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว 3 ปีติดต่อกัน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลป่ายุบในเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น และ มีอิสระในการบริหารงานบุคคลบริหารงานงบประมาณและการจัดการพัสดุด้วยตนเอง ตลอดจนมีอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ ภายใต้การกำกับดูแลของราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายและแผนพัฒนา และฝ่ายสภามีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารและพนักงาน ซึ่งการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในปัจจุบันมีปัญหาในเรื่องความ โปร่งใส ขาดประสิทธิภาพ การใช้จ่ายเงินไม่คุ้มค่า มีการรั่วไหล การจัดทำแผนงานโครงการไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนเสียโอกาสที่จะได้รับการแก้ไขปัญหาและการจัดบริการที่มี คุณภาพและเป็นธรรม ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลที่ดีคือ องค์การบริหารส่วนตำบลที่เอาใจใส่และรับผิดชอบต่อปัญหาและความเดือดร้อนของ ประชาชน บริหารงานยึดหลักระเบียบ กฎหมาย มีความโปร่งใสเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบบริการด้วยความเป็นธรรมและ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงานมุ่งความ สำเร็จในการพัฒนาตามความต้องการขอประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลป่ายุบในได้สร้างอาคารสำนักงาน จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
- สร้างครั้งแรก เลขที่ 299 หมู่ 2 ตำบลป่ายุบใน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538
- ย้ายที่ทำการ เลขที่ 9/9 หมู่ 5 ตำบลป่ายุบใน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2550